11 เกร็ดความรู้เกี่ยวกับหลุมดำ

จักรวาลของเรานั้นช่างกว้างใหญ่ไพศาลและเมื่อเทียบกับโลกแล้วเราอาจมีตัวตนเป็นเพียงแค่อะตอม 1 อะตอมเลยทีเดียว หนึ่งในเรื่องราวที่น่าสนใจของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในจักรวาลนั่นก็คือการเกิด Black Hole หรือ หลุมดำ นั่นเอง และคุณรู้หรือไม่ว่าหลุมในเอกภาพนั้นสามารถดูดกลืนได้ทุกสิ่งแม้แต่ดวงอาทิตย์ และนี่คือ 11 เกร็ดความรู้เกี่ยวกับหลุมดำที่สามารถดูดกลืนได้ทุกสิ่ง

#1 ประเภทของแบล็คโฮล

หลุมดำมีอยู่สามประเภทด้วยกัน ซึ่งแบ่งไปตามขนาดของมัน เริ่มด้วย Stellar Black Holes : มีขนาดเล็กที่สุด / Intermediate Black Holes : มีขนาดปานกลาง /และสุดท้าย Supermassive Black Holes : มีขนาดใหญ่ที่สุด สามารถดูดกลืนดวงอาทิตย์เข้าไปได้อย่างง่ายดาย

#2 ลักษณะรูปร่าง

รูปร่างของมันนั้นไม่ปรากฎให้เห็นชัดเจน แต่สิ่งที่เราเห็นอย่างในภาพนั้นก็เป็นสีของก๊าซและธาตุต่างๆ ที่กำลังถูกดูดเข้าไปในหลุมดำเพราะฉะนั้นหากเราอยู่ในอวกาศและจุดไหนที่มีแรงดึงดูดสูงมากๆ ผิดปกติ ตรงนั้นแหละคือตำแหน่งของมัน

#3 การปะทะกัน

เมื่อปี 2015 ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ ตรวจพบคลื่นแรงสั่นสะเทือนของแรงโน้มถ่วงในอวกาศ พบว่าการสั่นสะเทือนนี้มันเกิดมาจากหลุมดำ 2 หลุมเข้าปะทะกัน เมื่อ 1,300 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นการสนับสนุนทฤษฎีการย้อนเวลาของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ให้ใกล้ความจริงยิ่งขึ้นไปอีก

#4 เวลาเดินช้าลง

ขณะที่เราอยู่ใกล้กับหลุมดำ เวลาของพื้นที่บริเวณนั้นจะเดินช้าลง เป็นเพราะแรงโน้มถ่วง (เวลาในที่นี้คือการเจริญเติบโตของร่างกาย มนุษย์ และการเคลื่อนไหวของวัตถุ) ยิ่งแรงโน้มถ่วงมีความรุนแรงมากเท่าไหร่ เวลายิ่งผ่านไปช้ามากขึ้นเท่านั้น

#5 จุดศูนย์กลาง

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าที่จุดศูนย์กลางของหลุมดำที่เรียกว่า Singularity นั้น จะทำการบีบอัดสสารที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็ก

#6 หลุมดำที่อยู่ใกล้ที่สุด

หลุมดำที่อยู่ใกล้กับเราที่สุดนั้นเป็นอะไรที่ไม่สามารถรู้ได้เลย เพราะการตรวจจับที่ยากลำบาก แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า หลุมดำที่อยู่ใกล้ที่สุดนั้นน่าจะอยู่ใกล้กับจุดศูนย์กลางของกาแล็กซี่ทางช้างเผือก

#7 พลังงาน

เราจะเข้าใจว่าหลุมดำนั้นมีความสามารถในการดูดสิ่งต่างๆ บริเวณรอบๆ เข้าไปเพียงอย่างเดียว แต่ Stephen Hawking ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเจ้าหลุมดำเนี่ยยังสามารถปล่อยพลังงานออกมาผ่านการแผ่รังสีรอบๆ ขอบเขตของมันด้วย

#8 การสร้างหลุมดำ

แน่นอนว่านักวิทยาศาสตร์ต้องการที่จะสร้างมันขึ้นมา และสามารถสร้างได้สำเร็จ แต่เป็นหลุมดำขนาดจิ๋วที่มีแรงดึงดูดแบบน่ารัก

#9 การระเหย

คล้ายกันกับน้ำ หลุมดำจะค่อยๆ ระเหยหายไปเองตามกาลเวลา แต่อาจจะใช้เวลาซักหน่อย อาจจะเป็นหลักล้านหรือพันล้านปีเลยก็ได้ ซึ่งการระเหยนี้ก็คือทฤษฎีการปล่อยพลังงานออกมาในข้อ 7 นั่นเอง

#10 จะเป็นอย่างไรหากตกไปในหลุมดำ

จะเป็นอย่างไรน่ะเหรอ? นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ Sir Martin Rees ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ร่างกายของเราอาจจะถูกยืดออก และในที่สุดก็อาจจะถูกย่อยสลายให้กลายเป็นอนุภาคอะตอม

#11 ภาพถ่ายหลุมดำภาพแรงในประวัติศาสตร์

นักดาราศาสตร์ถ่ายภาพ หลุมดำ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ได้สำเร็จในปี 2019 โดยเป็นหลุมดำใจกลางกาเเล็กซี่ M87 ที่อยู่บริเวณกลุ่มดาวหญิงสาว ห่างจากโลกประมาณ 55 ล้านปีแสง และมีมวลประมาณ 6,500 ล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์

เครดิต brightside.me