14 เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับดาวเคราะห์คล้ายโลก TRAPPIST-1

การค้นพบ TRAPPIST-1 System นั้นเป็นที่จับตามองไปทั่วโลก ส่วนหนึ่งเพราะนี่คือการค้นพบระบบดวงดาวใหม่ซึ่งใกล้เคียงกับระบบสุริยะของเรามาก และมันมีโอกาสอย่างสูงที่เราจะค้นพบดาวซึ่งมีสภาวะคล้ายโลกที่สามารถอยู่อาศัยได้ รวมถึงอาจจะเจอสิ่งมีชีวิตอยู่อีกด้วย

หลายๆ คนอาจจะกำลังงงว่าที่ค้นพบกันอยู่นี้มันคืออะไรกันแน่ และในคราวนี้ เราอยากจะสรุปเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เพื่อมาให้ได้อ่านกันแบบเข้าใจง่ายๆ ถ้าพร้อมแล้วไปติดตามกันได้เลย

#1 ระบบดาวเคราะห์ที่ค้นพบนี้มีชื่อว่า TRAPPIST-1 System ที่มีดาวฤกษ์เพียงดวงเดียว มีความคล้ายคลึงกันกับระบบสุริยจักรวาลของเรามาก จึงทำให้กลายเป็นประเด็นที่พูดถึงเป็นวงกว้าง

#2 การเรียกชื่อ TRAPPIST-1 System ก็เหมือนกับการเรียกชื่อ Solar System โดยใช้ดาวฤกษ์ที่อยู่ตรงจุดศูนย์กลางเป็นชื่อของระบบดาวเคราะห์

#3 ชื่อ TRAPPIST-1 ถูกตั้งตามชื่อของกล้องโทรทัศน์ที่ตั้งอยู่ใน Atacama Desert ประเทศชิลี ที่นักดาราศาสตร์ใช้ส่องพบเจ้าดาวฤกษ์ดวงดังกล่าว

#4 ระบบดาวเคราะห์นี้มีดาวเคราะห์ทั้งหมด 7 ดวงด้วยกัน ซึ่งแต่ละดวงจะมีขนาดพอๆ กับดาวศุกร์

#5 เมื่อเทียบกับขนาดของดาวเคราะห์ในระบบ TRAPPIST-1 System และดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ จะเห็นได้ว่าแม้จะมีขนาดพอๆ กันกับโลก แต่ระยะเวลาโคจรรอบดาวศูนย์กลางนั้นกลับสั้นมาก แค่ราวๆ 1 วันครึ่ง ถึงมากที่สุดก็ราวๆ 20 วันเท่านั้น ขณะที่โลกของเรากว่าจะโคจรรอบดวงอาทิตย์ต้องใช้เวลา 365 วัน

#6 จากการสำรวจแล้วก็พบว่าดาวฤกษ์ TRAPPIST-1 มีขนาดเล็กมากกว่าดวงอาทิตย์มาก ประมาณว่าถ้าเปรียบดวงอาทิตย์เป็นลูกบาสเก็ตบอล ดาว Trappist ก็จะมีขนาดเท่ากับลูกกอล์ฟ นั่นทำให้แม้ดาวเคราะห์ทั้ง 7 จะอยู่ใกล้จุดศูนย์กลางกว่าโลกกับดวงอาทิตย์ แต่ก็ไม่ได้ร้อนจนโดนแผดเผา เพราะขนาดของดาว TRAPPIST-1 ที่เล็กนั่นเอง

#7 ภาพแสดงจุดที่ตั้งระหว่างโลกและระบบ TRAPPIST-1 System ซึ่งทั้งสองต่างอยู่ในกาแล็คซี่ทางช้างเผือก

#8 ดาวฤกษ์ TRAPPIST-1 อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 39 ปีแสง คิดเป็นหน่วยไมล์ ก็ประมาณ 235 ล้านล้านไมล์ หรือประมาณ 376 ล้านล้านกิโลมตร หากเปรียบเทียบกับดาวอังคารที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 22,526 กิโลเมตร แล้วถือว่ามากกว่าเป็นจำนวน 17,000 ล้านเท่าเลยทีเดียว

#9 การเดินทางจากโลกไปยังดาวอังคารใช้ระยะเวลาประมาณ 10 เดือน (ยานอวกาศ Maven ออกเดินทางไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2013 เดินทางถึงดาวอังคารและเข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารในเดือนกันยายน 2014)

และถ้าจะเดินทางด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันต้องเดินทางจากโลกไปยัง TRAPPIST-1 จะต้องใช้เวลาราวๆ 1 ล้านปีหรือมากกว่านั้นอย่างแน่นอน

#10 แม้จะมีการคาดการณ์ว่าแม้มนุษย์จะสามารถไปตั้งรกรากอยู่บนดาวเคราะห์ในระบบ TRAPPIST-1 System ได้ แต่การเดินทางไปถึงนั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย อย่างน้อยด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน มนุษย์ก็แทบไม่สามารถเดินทางไปตั้งรกรากที่แห่งนั้นได้แน่ๆ

#11 กระทั่งความคิดที่จะใช้หุ่นยนต์ไปสำรวจ ก็ยังไกลเกินเอื้อม ด็อคเตอร์ Triaud กล่าวว่า เทคโนโลยีปัจจุบันก็ยังคงห่างไกลกับการส่งหุ่นหรือยานอวกาศไปตรงจุดนั้น ส่วนโอกาสที่มนุษย์จะอยู่รอดในการเดินทางอวกาศไกลนับแสนปี ก็ไม่มีใครรู้เลยว่าจะทำได้หรือไม่

#12 นักวิทยาศาสตร์คาดว่าดาวเคราะห์ 3 ใน 7 ดวงนี้คือ 1e, 1f และ 1g จะมีของเหลวหรือกระทั่งมีน้ำอยู่บนดาว เนื่องจากมีสภาวะเหมาะสมที่สุดที่จะมีมหาสมุทรอยู่บนพื้นผิวดาว พวกเขายังคาดการณ์ว่าอาจจะมีสิ่งมีชีวิตอยู่ในมหาสมุทรของดวงดาวเหล่านั้นแล้ว แม้โอกาสจะน้อยมากก็ตาม

#13 ขนาดของดาว TRAPPIST-1 เมื่อเทียบกับดาวพฤหัสในระบบสุริยะของเรา จะเห็นว่าใหญ่กว่ากันเล็กน้อยเท่านั้น

#14 ภาพจินตนาการของดาวเคราะห์ 1f ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ NASA ลงความเห็นว่าเหมาะสมที่สุดกับการจะค้นพบสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวดาวเคราะห์ดวงดังกล่าว