17 ภาพก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์

บ่อยครั้งที่การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ นั้นยากที่จะมองเห็น แม้ว่าเรากำลังเปลี่ยนแปลงโลกอย่างใหญ่หลวง ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า การทำอุตสาหกรรม การขุดเจาะและใช้งานเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ก็ยังยากที่เราจะเห็นว่ารอยแผลเป็นที่เราทิ้งไว้ให้โลกใบนี้นั้นใหญ่ขนาดไหน และเพื่อเป็นการพิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ธรรมชาติ รวมถึงสถานที่สำคัญหลายแห่งบนโลกใบนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปมากขนาดไหน วันนี้เราจึงได้นำภาพถ่ายเทียบความเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ บนโลก ในช่วงไม่กี่ปีหลังมาให้ได้ชมกัน

#1 ธารน้ำแข็ง Pedersen ในอลาสกา มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก เมื่อเทียบกับ 100 ปีที่แล้วกับในปัจจุบัน

#2 ภาพของน้ำตกวิกตอเรีย หนึ่งในน้ำตกที่มีขนาดใหญ่และสวยงามที่สุดในโลก กำลังเผชิญกับสภาพภัยแล้งอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จนระดับน้ำของน้ำตกได้ลดลงอย่างน่าตกใจ

#3 ภาพเปรียบเทียบในระยะเวลา 10 ปี ของป่าเมอร์รี ประเทศปากีสถาน ที่ทำให้เราเห็นว่ามันถูกทำลายไปมาก

#4 เมืองต่างๆ ทั่วโลกกำลังถูกน้ำท่วมมากขึ้นกว่าเดิม เช่นเมืองเวนิสของอิตาลี ที่เผชิญภาวะน้ำขึ้นสูงที่สุดในรอบกว่า 50 ปี ทะลักเข้าท่วมโบสถ์สำคัญทางประวัติศาสตร์อายุนับพันปี สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญหลายแห่ง

#5 ภาพถ่ายจากดาวเทียมขององค์การนาซาเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ สภาพพื้นที่ป่าใน Rondonia ประเทศบราซิล เดือนมิถุนายน ปี 1975 และเดือนสิงหาคม ปี 2009

#6 ภาวะโลกร้อนที่ทำลายความสามารถในการฟื้นฟูปะแนวปะการังมรดกโลกเกรท แบร์ริเออร์ รีฟ (Great Barrier Reef) ในออสเตรเลีย ที่มีจำนวนตัวอ่อนปะการังใหม่ ๆ ลดลงถึง 89%

#7 ธารน้ำแข็งที่ละลายกลายเป็นแม่น้ำ

#8 ในระยะเวลาเพียง 6 ปี Aculeo Lake ทะเลสาบที่เคยเต็มไปด้วยน้ำ ก็แห้งเหือดหายตัวไปราวกับว่ามันไม่เคยมีอยู่จริง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่เลวร้ายของวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

#9 น้ำในเขื่อน Theewaterskloof ก็หายไปเช่นกัน หลังจากเมืองเคปทาวน์ ในแอฟริกาใต้ เผชิญวิกฤติฝนแล้ง

#10 น้ำท่วมในแม่น้ำคงคาใน Allahabad ส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากไร้บ้าน ไม่มีที่อยู่อาศัย

#11 ทะเลสาบ Urmia ที่เปลี่ยนกลายเป็นสีแดงและกำลังจะแห้งเหือดในไม่ช้า

#12 ป่าทั่วโลกกำลังลุกไหม้ และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับป่าอเมซอน

#13 น้ำท่วมในแม่น้ำมิสซิสซิปปี ทำให้ทั้งเมืองจมอยู่ใต้น้ำ

#14 ธารน้ำแข็ง Grinnell ที่ลดลงอย่างน่าแปลกใจ และมันอาจจะละลายไปในอีกไม่ช้า

#15 ทะเลสาบโอโรวิลล์ ในแคลิฟอร์เนีย แห้งสนิทจนไม่หลงเหลือคราบทะเลสาบอีกต่อไป

#16 ภาพถ่ายจากดาวเทียมขององค์การนาซาเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับธารน้ำแข็งอ็อกโจคุลล์ ด้านซ้ายเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2529 และภาพถ่ายด้านขวาเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562

#17 ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นทั่วโลก ภาพแผนที่นี้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกระหว่างช่วงศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 ตามข้อมูลขององค์การนาซา อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 0.7 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ปี พ. ศ. 2423 และสองในสามของการที่โลกมีอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยสูงขึ้นเกิดดขึ้นตั้งแต่ปี พ. ศ. 2518 โดยมีอุณหภูมิสูงขึ้นราว 0.15 ถึง 0.20 องศาเซลเซียสต่อทศวรรษ

เครดิต brightside.me