9 เรื่องราวผิดพลาดในหนังย้อนยุคที่เราอาจไม่เคยสังเกตมาก่อน

ในการสร้างภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์นั้นมีทั้งข้อดีข้อเสียปะปนกันไป ข้อดีก็คือมันช่วยเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจและทำให้ผู้คนยุคใหม่หันมาสนในประวัติศาสตร์มากยิ่งขึ้น แต่ข้อเสียก็คืออาจทำให้ผู้คนเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ไปแบบผิดๆ ถ้าไม่ได้มีการศึกษาหาข้อมูลมาอย่างละเอียดถี่ถ้วน และในวันนี้เราจะพาไปพบความจริงเกี่ยวกับภาพยนตร์ย้อนยุคที่มีเนื้อหาในเชิงประวัติศาสตร์ ที่มีรายละเอียดหรือเรื่องราวบางอย่างผิดพลาดไปจากความเป็นจริง อาจดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ก็สร้างความเข้าใจที่ผิดได้เช่นกัน

#1 Pearl Harbor (2001) ในยุคสมัยนั้นผู้หญิงทุกคนจะต้องสวมถุงน่องเมื่อออกจากบ้าน แม้กระทั่งในภาวะสงครามที่ข้าวของเริ่มขาดแคลนก็ตาม และแทบไม่มีผู้หญิงคนไหนกล้าเดินขาเปลือยเปล่าออกมาเหมือนตัวละครในหนัง

#2 Elizabeth: The Golden Age (2007) เรื่องราวในภาพยนตร์นั้นเป็นเรื่องราวที่อ้างอิงจากชีวิตจริงของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ ช่วงที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุราว 50 ปี แต่ผู้ที่มารับบทคือนักแสดงสาว เคต แบลนเชตต์ ที่ตอนนั้นอายุเพียง 36 ปี และไม่ได้มีการแต่งหน้าหรือใช้เทคนิคพิเศษเพื่อเพิ่มอายุให้กับเธอเลย

#3 Alexander (2004) ในภาพยนตร์เราจะได้เห็นเจ้าม้า Bucephalus ที่สู้รบอยู่เคียงข้างกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช ซึ่งรับบทโดยม้าพันธุ์ฟรีเชี่ยน ที่เพิ่งปรากฏขึ้นในศตวรรษที่ 16 หรือกว่า 1,000 ปีหลังจากยุคนั้น

#4 Pride & Prejudice (2005) ภาพยนตร์ที่อิงจากนวนิยายของเจน ออสเตน ซึ่งในภาพยนตร์นั้นเอลิซาเบธ เบนเน็ต (คีร์รา ไนท์ลีย์) สวมรองเท้าบูทหลายครั้ง ซึ่งจริงๆ แล้วรองเท้าบูทเพิ่งถูกผลิตขึ้นมาในอีก 50 ปีหลังจากนั้น

#5 Gone with the Wind (1939) ภาพยนตร์เรื่องนี้มีรายละเอียดหลายอย่างที่ไม่ตรงกับความจริง อย่างเช่นหลอดไฟที่สามารถพบได้ทั่วไปในเมือง ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาในปี 1879 ส่วนเรื่องราวในภาพยนตร์เกิดขึ้นระหว่างปี 1861-1865

#6 Titanic (1997) ในภาพยนตร์ไททานิก แจ็คได้พูดว่าเขาชอบไปตกปลาที่ทะเลสาบ Wissota ในเมือง Chippewa Falls รัฐวิสคอนซิน บ้านเกิดของเขา แต่ในความเป็นจริงแล้วทะเลสาบ Wissota นั้นเพิ่งถูกสร้างขึ้นในปี 1917 หรือ 6 ปีหลังเรือไททานิกจมลงสู่ท้องทะเล

#7 Saving Private Ryan (1998) กัปตัน Miller ยิงข้าศึกโดยนั่งพิงรถจักรยานยนต์รุ่นโบราณ ที่จริงๆ แล้วเป็นรถรุ่นที่ถูกผลิตขึ้นในประเทศรัสเซียในอีก 20 ปีต่อมา ชื่อรุ่นว่า Ural M63

#8 Braveheart (1995) ในภาพยนตร์เรื่องนี้ก็มีรายละเอียดหลายอย่างที่ไม่ตรงกับประวัติศาสตร์ ยกตัวอย่างเช่น การใช้สีฟ้าทาหน้าที่นิยมกันในหมู่นักรบชาวเซลติก ไม่ใช่ชาวสก็อต หรือเรื่องราวความรักระหว่าง William Wallace และ Queen Isabella ที่ไม่มีทางเกิดขึ้นได้ เพราะตามประวัติแล้ว Queen Isabella เพิ่งมีอายุแค่ 10 ขวบ และให้กำเนิดบุตรคนแรกในปี 1312 หรือ 7 ปีหลังจากเหตุการณ์ในภาพยนตร์ที่เกิดขึ้นในปี 1305

#9 Troy (2004) ภาพยนตร์ในตำนานก็มีข้อผิดพลาดหลายจุดด้วยกัน เช่น Agamemnon และ Menelaus ที่ไม่ได้เสียชีวิตที่เมืองทรอย แต่คนหนึ่งถูกภรรยาปลิดชีพและอีกคนเสียชีวิตตามอายุขัย หรือเรือไทรรีมที่จริงๆ แล้วถูกสร้างขึ้นในอีก 600 ปีหลังจากนั้น หรือเหรียญที่ใช้ปิดตาผู้เสียชีวิต ที่จริงๆ แล้วในยุคนั้นยังไม่มีการประดิษฐ์ขึ้นมา

เครดิต brightside.me