8 สัตว์ดึกดำบรรพ์ที่คนยุคนี้ไม่มีโอกาสได้เห็น

บนโลกของเรามีสายพันธุ์สัตว์ต่างๆ มากมาย บ้างก็วิวัฒนาการ ปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดจนกลายเป็นสัตว์สายพันธุ์ใหม่ แต่บางสายพันธุ์ก็ไม่สามารถปรับตัวได้ทำให้จำนวนค่อยๆ ลดลงจนสูญพันธุ์ในที่สุด สำหรับวันนี้เราจะพาไปดู 8 สัตว์ดึกดำบรรพ์ที่คนยุคนี้ไม่มีโอกาสได้เห็น เพราะพวกมันสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว

#1 นกโดโด้ : สูญพันธุ์ ตอนปลายของศตวรรษที่ 17

นกโดโด้หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า Raphus Cucullatus เป็นนกที่บินไม่ได้ แหล่งที่อยู่อาศัยคือ หมู่เกาะเมอริตัส มันเป็นนกในตระกูลเดียวกันกับนกพิราบและนกนางแอ่น สูงประมาณ 1 เมตร (3 ฟุต) กินผลไม้เป็นอาหารและมักทำรังบนพื้นดิน

นกโดโด้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการสูญพันธุ์ของสัตว์ต่างๆ เพราะมันเป็นสัตว์ชนิดแรกของโลกที่สูญพันธุ์ในยุคที่มนุษย์เริ่มบันทึกการหายไปของสัตว์

#2 เพนกวินยักษ์ : สูญพันธุ์ในปี 1844

เพนกวินยักษ์เป็นสัตว์ตระกูลเดียวกันกับเพนกวิน บินไม่ได้ สูงประมาณ 75 เซนติเมตร หรือ 30-34 นิ้วและหนัก 5 กิโลกรัม ในสมัยก่อนพบมากในแถบหมู่เกาะนอกชาวฝั่งของแคนาดา กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ ไอแลนส์ และอังกฤษ แต่จากการล่าโดยไม่มีการจำกัดทำให้มันสูญพันธุ์ในที่สุด

#3 กวางไอริช : กวางที่ใหญ่ที่สุดในโลก สูญพันธุ์ไปเมื่อ 7,700 ปีก่อน

กวางไอริชหรือกวางยักษ์อาศัยในแถบยูเรเชียตั้งแต่ประเทศไอแลนด์ไปจนถึงเบงกอลในยุค Pleitocene ถึงช่วงต้นยุค Holocene จากการศึกษาโครงกระดูกมันมีชีวิตอยู่ในช่วง 5,700 ก่อนประวัติศาสตร์ หรือ 7,700 ปีที่แล้ว มันสูงถึง 2.1 เมตร หรือ ราวๆ 7 ฟุต วัดจากเท้าถึงไหล่ มีการถกเถียงกันถึงสาเหตุของการสูญพันธุ์ของมันซึ่งส่วนใหญ่บอกว่าเป็นเพราะขนาดที่ใหญ่ของมันทำให้เป็นจุดเด่นสำหรับผู้ล่า

#4 พะยูน สเตลล่า : สูญพันธุ์ในปี 1768

สมัยก่อนมักพบมากในเขตทะเลแบร์ลิ่ง มันถูกพบเห็นเป็นครั้งแรกในปี 1741 โดยนักธรรมชาติวิทยา George Steller พยูนนี้สามารถโตเต็มที่และยาวได้ถึง 7.9 เมตร (25.9 ฟุต) และหนักได้ถึง 3 ตัน จากการศึกษาฟอสซิลของมันพยูนนี้เคยอาศัยอยู่ในแถบทะเลแปซิฟิคยาวไปถึงตอนใต้ของญี่ปุ่นและรัฐแคลิฟอเนีย

สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้มันสูญพันธุ์คือ การมาถึงของมนุษย์ในแถบชายฝั่งทะเล มีหลายคนอ้างว่ายังพบเห็นกลุ่มพยูนสเตลล่าอยู่บริเวณทะเลแบร์ลิ่งและชายฝั่งของประเทศกรีนแลนด์ ซึ่งก็อาจจะยังมีพยูนแตลล่าบางส่วนเหลือรอดมาได้แต่ก็ไม่มีหลักฐานมายืนยันแต่อย่างใด

#5 ครึ่งม้าลาย ครึ่งม้า (Quagga) : สูญพันธุ์ในปี 1883

หนึ่งในสัตว์สูญพันธุ์ที่เป็นที่รู้จักในแอฟริกา Quagga เป็นสัตว์ตระกูลเดียวกับม้าลาย ซึ่งในช่วงหนึ่งพบมากในแถบแอฟริกาใต้ เหมือนสัตว์อื่นๆ ที่ถูกล่าเพื่อนำมาเป็นอาหาร

ครึ่งม้าลาย ครึ่งม้า (Quagga) ตัวสุดท้ายถูกยิงในปี 1870 และ Quagga ในสวนสัตว์ตัวสุดท้ายของโลกตายเมื่อ 12 สิงหาคม 1883 ที่ สวนสัตว์ Artis Magistra ในกรุงอัมส์เตอร์ดัม เพราะความสับสนในการแยกแยะว่า Quagga ควรแยกเป็นสัตว์อีกพันธุ์จากม้าลายหรือไม่ มันก็สูญพันธุ์ไปซะก่อนก่อนที่มันจะถูกจัดเป็นสัตว์อีกพันธุ์นึงที่ไม่ใช่ม้าลาย

แต่จากการศึกษารูปแบบ DNA ของมันโดยศูนย์วิจัยของสมิธโซเนี่ยนพบว่า Quagga ก็คือม้าลายธรรมดานี่เองเพียงแต่มันเริ่มกลายพันธุ์โดยไม่ทราบสาเหตุ

#6 วัวยักษ์ (Aurochs) : สูญพันธุ์ในปี 1627

เป็นสัตว์ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดีในยุโรป มีแหล่งกำเนิดในแถบประเทศอินเดียเมื่อกว่า 2 ล้านปีก่อนและได้อพยพไปอาศัยในแถบเอเชีย และอพยพมาอยู่ในยุโรปเมื่อราวๆ 250,000 ปีก่อน จนเมื่อศตวรรษที่ 13 จะพบมันได้เฉพาะในประเทศ โปแลนด์ ลิทูเนีย โมดาเวีย ทรานซิลเวเนีย และ ปรัสเซีย เท่านั้น

ในสมัยก่อนผู้ที่จะสามารถล่ามันได้ มีเฉพาะขุนนางผู้ใหญ่และเศรษฐีเท่านั้น เมื่อการล่าเพิ่มมากขึ้นกฎหมายคุ้มครองมันก็ถูกร่างขึ้นมาแต่สำนักราชวังยังคงต้องทำการล่าพวกมัน เพราะเป็นส่วนหนึ่งในประเพณีของราชวงศ์ที่ต้องคงไว้แต่หากผู้อื่นใดล่ามันจะถูกประหารชีวิตทันที ในปี 1564 มีการบันทึกโดยราชวงศ์ว่ามี Aurochs เหลืออยู่เพียง 38 ตัว

#7 ช้างแมมมอธ : สูญพันธ์ 10,000 ปีก่อน

เป็นช้างที่อาศัยอยู่ในยุคน้ำแข็งเมื่อ 20,000 ปีก่อน แต่สูญพันธุ์ไปเพราะถูกมนุษย์ยุคหินล่า แม้ก่อนหน้านี้จะมีการสันนิษฐานสาเหตุการตายของมันว่า เกิดจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันจึงทำให้ล้มตาย

แต่หลังจากมีการค้นพบสุสานช้างขนาดใหญ่ พร้อมด้วยอาวุธยุคหินจำนวนมากที่ฝังอยู่ใต้กระดูกของพวกมัน และดูเหมือนว่าทุกตัวจะกระดูกขาหักเพราะตกจากที่สูง จึงทำให้บางส่วนคิดว่าน่าจะเกี่ยวกับการล่าของมนุษย์ด้วย ซึ่งเชื่อว่ามนุษย์ยุคก่อนใช้ไฟและหอกปลายแหลมไล่ล่าเจ้าแมมมอธพวกนี้ให้ตกจากหน้าผา เพื่อให้ง่ายต่อการฆ่าภายหลัง

#8 Smilodon : สูญพันธ์เมื่อ 10,000 ปีก่อน

Smilodon พวกมันอาศัยอยู่ในอเมริกาเมื่อ 10,000 ปีก่อน ขนาดของ Smilodon นั้นเหมือนกับเสือตัวใหญ่ แต่ก็มีโครงสร้างที่แข็งแรงกว่า ดังนั้นพวกมันจึงล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่เช่นกระทิงและอูฐเป็นหลัก

สำหรับสาเหตุของการสูญพันธุ์นั้นเชื่อกันว่าเนื่องจากสัตว์กินพืชขนาดใหญ่ซึ่งเป็นเหยื่อของพวกมันมีจำนวนลดลง